วันวิสาขบูชา 2564

ถ้านับตามจันทรคติก็จะตรงกับวันที่
26เมษายน2564
ขึ้น15ค่ำ เดือน6 ปีฉลู
เเต่ปีนี้ตามปฏิทินตรงกับ
วันที่26พ.ค 2564
ขึ้น15ค่ำ เดือน7 ปีฉลู
คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6
การกำหนดวันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน
อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้น ๆ
ประวัติวันวิสาขบูชาและความสำคัญของ วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...
1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"
เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส
2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ
หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา
3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)
เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
altaltaltaltalt
 

โครงการป้องกันและระงับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid 19)

วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก จัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ประจำด่านตำบลทับสะแก เพื่อควบคุมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) บูรณาการร่วมกับกำนันตำบลทับสะแก ผู้ใหญ่บ้าน ส.อบต./รพ.สต.บ้านทุ่งประดู่/อสม./อปพร. และพนักงานเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ณ จุดตรวจ จุดสกัด หน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก

alt

โครงการป้องกันและระงับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid 19)

วันที่ 23 พฤษภาคม 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก จัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ประจำด่านตำบลทับสะแก เพื่อควบคุมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) บูรณาการร่วมกับกำนันตำบลทับสะแก ผู้ใหญ่บ้าน ส.อบต./รพ.สต.บ้านทุ่งประดู่/อสม./อปพร. และพนักงานเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ณ จุดตรวจ จุดสกัด หน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก

alt

โครงการป้องกันและระงับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid 19)

วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก จัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ประจำด่านตำบลทับสะแก เพื่อควบคุมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) บูรณาการร่วมกับกำนันตำบลทับสะแก ผู้ใหญ่บ้าน ส.อบต./รพ.สต.บ้านทุ่งประดู่/อสม./อปพร. และพนักงานเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ณ จุดตรวจ จุดสกัด หน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก

alt

โครงการป้องกันและระงับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid 19)

วันที่ 21 พฤษภาคม 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก จัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ประจำด่านตำบลทับสะแก เพื่อควบคุมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) บูรณาการร่วมกับกำนันตำบลทับสะแก ผู้ใหญ่บ้าน ส.อบต./รพ.สต.บ้านทุ่งประดู่/อสม./อปพร. และพนักงานเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ณ จุดตรวจ จุดสกัด หน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก

altalt

บทความ อื่นๆ ...

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean Vietnamese

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ








สายด่วน:  081-7368077


 








 



 

คุณพึงพอใจอบต.ทับสะแก ด้านใด







































QR Code
อบต.ทับสะแก

ลิขสิทธิ์ © 2563 องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทร. 0-3267-2805

saraband-thapsakae@lgo.mail.go.th

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล